โต๊ะอาหารหรือโต๊ะกินข้าวเป็นโต๊ะที่สมาชิกในครอบครัวใช้งานอยู่เป็นประจำ เป็นมุมที่สมาชิกในบ้านใช้ทานอาหาร พูดคุย และใช้เวลาดีดีร่วมกัน
ผู้เขียนเชื่อว่าหลายท่านคงประสบปัญหา “มดขึ้นโต๊ะอาหารหรือโต๊ะกินข้าว” มาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งถ้าช่วงไหนมีมดจำนวนไม่มาก ก็อาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่โตอะไร แต่ถ้าช่วงไหนมีมดจำนวนมากๆแบบเป็นกองทัพ จะสร้างความหงุดหงิดรำคาญและเป็นปัญหาหนักอกหนักใจมาก เพราะถึงจะไล่มดไปแล้ว มดก็จะกลับมาซ้ำแล้วซ้ำอีก แถมอาหารที่มดขึ้นแล้วมักจะทานต่อไม่ได้ เพราะแม้จะไล่มดไปหมดแล้ว ก็มักจะมีมดตายอยู่ในอาหารนั้นๆ
การป้องกันมดขึ้นโต๊ะอาหารเป็นเรื่องที่สำคัญและมีความจำเป็น เพราะเราไม่สามารถทราบได้เลยจริงๆว่ามดจะมาตอนไหน? การป้องกันมดไว้ตลอดเวลาจึงเป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง
ทำไมมดถึงขึ้นโต๊ะอาหาร?
คำถามนี้อาจดูไร้สาระ เพราะท่านผู้อ่านทุกท่านพอจะทราบดีอยู่แล้วว่า มดขึ้นโต๊ะอาหาร เพราะต้องการกินอาหารและเก็บสะสมอาหารไว้ที่รัง ซึ่งเป็นคำตอบที่คนส่วนมากทราบอยู่แล้ว แต่เราต้องตั้งคำถามเพื่อให้เราสามารถตั้งสมมุติฐานหรือสาเหตุของปัญหาเพื่อการแก้ปัญหาได้ตรงจุด เพราะกองทัพมดไม่ได้มารบกวนท่านเฉพาะการขึ้นอาหารเท่านั้น แต่เค้าจะขึ้นทุกอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต เช่น ขึ้นเหยือกน้ำ ขึ้นถังเก็บน้ำดื่ม ข้าวสาร ตู้กับข้าว คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งปลั๊กไฟ
วิธีสำรวจเส้นทางขึ้นโต๊ะอาหารของมด
ธรรมชาติของมดจะอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ และทำงานกันเป็นทีมอย่างแข็งขัน เวลามดขึ้นอาหารจะไม่มากันเพียงตัวสองตัว แต่จะมาเป็นกองทัพ เราจึงสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายเวลามดเดิน เค้าเดินจากไหนไปไหน? ตรงไหนเป็นเส้นทางที่มดใช้เดินทางจากอาหารบนโต๊ะไปสู่รังของพวกมัน
ดังนั้น สิ่งที่เราควรทำหลังจากเห็นมดขึ้นอาหารแล้ว คือ การสังเกตทางเดินของมดว่ามดมาจากทางไหนบ้าง? จึงสามารถไต่ขึ้นโต๊ะมาสู่อาหารของเราได้
โดยทั่วไปแล้ว โต๊ะอาหารในบ้านของคนไทย มักจะเป็นโต๊ะขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก ทำจากไม้เป็นส่วนมาก บางบ้านอาจมีจานหมุนบนโต๊ะอาหาร คล้ายโต๊ะอาหารตามภัตตาคาร
จุดที่มักจะเป็นเส้นทางเดินของมดขึ้นโต๊ะอาหาร
จากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง (จากโต๊ะอาหารที่บ้าน) เส้นทางที่มดมักจะขึ้นโต๊ะอาหารได้มีดังต่อไปนี้
1.ไต่จากขาโต๊ะอาหารเอง
เป็นจุดที่พบได้มากที่สุด เพราะมดมักจะเดินทางโดยใช้ขาโต๊ะเป็นสะพานเข้าหาอาหารบนโต๊ะ
2.ไต่จากเก้าอี้ไปสู่โต๊ะอาหาร
โต๊ะอาหารเป็นเฟอร์นิเจอร์คู่กับเก้าอี้นั่งทานอาหาร ในบางกรณีถ้ามดไม่สามารถที่จะขึ้นโต๊ะอาหารผ่านทางขาโต๊ะได้ เค้าจะพยายามหาเส้นทางใหม่ เก้าอี้ที่วางชิดกับตัวโต๊ะเป็นเส้นทางสะดวกอีกทางหนึ่ง ที่มดมักจะใช้เดินทางอยู่เป็นประจำ
3.ไต่จากกำแพงไปสู่โต๊ะอาหาร
กรณีที่โต๊ะอาหารวางติดกับกำแพง มดสามารถใช้กำแพงเป็นสะพาน เดินเข้าหาอาหารบนโต๊ะได้
เราจะใช้วิธีไหนป้องกันมดขึ้นโต๊ะอาหารโต๊ะกินข้าวดี?
จากข้อมูลก่อนหน้า เรามีความจำเป็นต้องป้องกันมดในทุกจุดที่เราสามารถป้องกันได้ ไม่ว่าจะเป็นขาโต๊ะ เก้าอี้หรือกำแพง เพราะมดมีสัญชาตญาณและความสามารถในการเข้าหาอาหารที่ดีมาก ถ้าเราเปิดช่องแม้เพียงช่องทางเดียว มดจะสามารถหาช่องนั้นจนเจอและเข้าถึงอาหารได้เสมอ
วิธีการที่ง่ายที่สุด ที่คนทั่วไปใช้ป้องกันมดขึ้นโต๊ะอาหารคือ การขัดขวางหรือปิดเส้นทางเดินของมดนั่นเอง
คำถามต่อไปคือ เราจะใช้วิธีใดป้องกันมดเดินหรือขัดขวางทางเดินของมดดี?
มีข้อมูลทางอินเตอร์เนตจำนวนมากที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีกันมดและสารกันมดทั้งแบบสารธรรมชาติและสารเคมี ทั้งแบบที่มียาฆ่าแมลงและไม่มี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป สรุปย่อๆมีดังต่อไปนี้

1.เปลือกไข่บดละเอียด
ความง่ายต่อการใช้งาน
การใช้เปลือกไข่จำเป็นต้องการมีการเตรียมวัตถุดิบ โดยต้องล้างทำความสะอาด ตากแห้งหรืออบให้แห้ง จากนั้นจำเป็นต้องบดละเอียด โดยการบดยิ่งละเอียดมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ประสิทธิภาพการกันมดดีมากขึ้นเท่านั้น
การใช้งานโดยทั่วไปคือการโรยที่จุดมดขึ้นหรือโรยขัดขวางเส้นทางเดินของมด โดยใช้เครื่องพ่นผง (Power Duster) เครื่องพ่นผงเวลาทำงานจะคล้ายเวลาเราบีบกระป๋องแป้ง เพื่อให้แป้งพุ่งออกมา หลีกเลี่ยงการสูดดมขณะพ่น ควรมีหน้ากากปิดปากปิดจมูกไว้
ความปลอดภัยต่อคนและสัตว์
เนื่องจากเปลือกไข่เป็นสารธรรมชาติ จึงจัดได้ว่าเป็นสารกันมดที่มีความปลอดภัยต่อคนและสัตว์ (กินยังได้ดังนั้นจะสัมผัสโดนผิวหนังก็ไม่เป็นไร)
ไม่ฆ่ามด
เปลือกไข่จัดเป็นสารฆ่าแมลงตามธรรมชาติประเภทหนึ่งที่มีชื่อว่า diatomaceous earth (ไดอะตอมมาเชียส เอิร์ท) ที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงทุกชนิด โดยเมื่อมดหรือแมลงชนิดใดๆเดินผ่านผงเปลือกไข่ ผงจะติดที่ผิวและเข้าไปอยู่ใต้เปลือกหุ้มของแมลง ผงเปลือกไข่จะทำหน้าที่เสมือนเศษแก้วมีคมขนาดเล็ก ที่ทำให้แมลงได้รับบาดเจ็บรุนแรงและตายในที่สุด
ระยะเวลากันมด
เนื่องจากผงเปลือกไข่มีลักษณะเป็นแป้งหรือเป็นผง การยึดติดกับพื้นผิวจึงน้อย หากมีลมพัดก็มักจะทำให้ฟุ้งหรือปลิวหายไป หากโรยกันมดไว้บนพื้น ขอบหน้าต่างหรือขอบประตู ระยะเวลาการใช้งานจึงสั้นและมักจะอยู่ได้ไม่นานนัก หากเราต้องการใช้งานให้ได้นานขึ้น ควรมีภาชนะบรรจุผงเปลือกไข่ แล้ววางสิ่งที่ต้องการกันมดไว้ตรงกลาง การใช้งานลักษณะนี้จะช่วยยืดอายุการกันมดได้ยาวนานขึ้น
ความคุ้มค่า
จัดได้ว่าคุ้มค่าเพราะเป็นของฟรีที่หาได้ทั่วไป เพราะทุกบ้านบริโภคไข่กันเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว อาจจะยุ่งนิดหน่อยตรงที่ต้องเตรียมเปลือกไข่ ล้างทำความสะอาด ตากแห้งและนำมาบดก้บเครื่องบด ประกอบกับระยะเวลากันมดที่สั้น ซึ่งถ้าใครไม่มีค่อยมีเวลาหรือไม่ชอบความยุ่งยากวิธีนี้อาจจะไม่เหมาะนัก

2. แป้งทาตัวเด็ก
ความง่ายต่อการใช้งาน
เราสามารถหาซื้อแป้งเด็กได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป การใช้งานง่ายเพราะเราไม่ต้องเตรียมหรือผ่านกรรมวิธีอะไร เพียงแต่โรยเป็นแถบให้กว้างประมาณ 1 นิ้ว ก็ใช้กันมดได้แล้ว (ลักษณะการใช้งานจะเหมือนผงเปลือกไข่)
ความปลอดภัยต่อคนและสัตว์
โดยปกติแล้ว แป้งเด็กมีความปลอดภัยต่อคนและสัตว์ และเป็นเครื่องสำอางที่หลายบ้านใช้กันเป็นประจำอยู่แล้ว หลายท่านอาจเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องของการใช้แป้งเด็กกับการเกิดมะเร็ง ซึ่งข้อเท็จจริงคือ เป็นความจริง แต่เป็นกับบางยี่ห้อเท่านั้นและได้รับการแก้ไขไปแล้ว ดังนั้น ท่านจึงไม่มีความจำเป็นต้องกังวลอะไร หากต้องการใช้แป้งเด็กเพื่อกันมด
ไม่ฆ่ามด
ประโยชน์ของแป้งเด็กที่พ่อแม่ทุกคนทราบกันดีอยู่ คือ ป้องกันผดผื่นและดูดซับความชื้นที่เกิดขึ้นบนผิวเด็ก สำหรับมดแล้วด้วยคุณสมบัติที่ทำให้แห้งและปกป้องผิวหนังจากความชื้น กลับเป็นผลร้ายต่อผิวหนังของมด เพราะอาจทำให้มดตายได้
ระยะเวลากันมด
ด้วยความที่แป้งเด็กมีลักษณะเป็นผง การจับยึดกับพื้นผิวมีน้อย หากมีลมพัดก็จะทำให้ผงแป้งปลิวหายไปได้ง่าย ดังนั้น ระยะเวลาในการกันมดจะอยู่ในช่วงสั้นๆ หากต้องการยืดระยะเวลากันมด เราจำเป็นต้องใส่แป้งเด็กลงในภาชนะ เพื่อลดการฟุ้งกระจาย
ความคุ้มค่า
แป้งเด็กเป็นสินค้าที่มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย แต่มีข้อเสียเรื่องระยะเวลากันมด ผู้ใช้มีความจำเป็นต้องตรวจสอบและเติมแป้งบ่อยๆ ความคุ้มค่าจึงอยู่ในระดับกลางๆ

3. ชอล์กกันมด
ความง่ายต่อการใช้งาน
ชอล์กกันมดเป็นยาฆ่าแมลงที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไป วิธีใช้งานง่ายมากๆเพียงขีดล้อมขาโต๊ะ ก็ช่วยป้องกันการเข้าถึงอาหารหรือวัตถุที่เราต้องการได้แล้ว
ความปลอดภัยต่อคนและสัตว์
เนื่องด้วยชอล์กกันมดเป็นยาฆ่าแมลง ซึ่งใช้ยาฆ่าแมลงชนิด Deltametrin (เดลต้าเมทริน) หรือ Cypermetrin (ไซเปอร์เมทริน) ที่เป็นสารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroid) ซึ่งมีความเป็นพิษและเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ โดยการออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาท
สิ่งที่น่ากลัวอย่างหนึ่งของชอล์กกันมดคือ หากมดเดินผ่านเส้นชอล์กที่เราขีดไว้ แต่! มดตัวนั้นยังไม่ตายทันที ยังสามารถเดินได้และไต่อาหารของเรา แน่นอนว่าอาจจะมียาฆ่าแมลงปนเปื้อนกับอาหารโดยที่เราไม่รู้ตัว!
ไม่ฆ่ามด
ชอล์กกันมดมีผลทำให้มดที่สัมผัสโดนหรือเดินผ่านตาย ตายช้าตายเร็วขึ้นกับปริมาณยาฆ่าแมลงที่ได้รับ
ระยะเวลากันมด
ขึ้นกับบริเวณที่ใช้งาน หากใช้บริเวณที่มีไม่มีการสัมผัสโดนก็จะติดทนนาน เช่น กำแพง กรอบหน้าต่าง แต่ถ้าใช้บริเวณที่คนมีโอกาสสัมผัสโดนบ่อยๆ เช่น พื้น ระยะเวลากันมดก็จะสั้นลง
ความคุ้มค่า
ราคาไม่สูงมาก การกันมดดีระดับนึง มีข้อมูลจากผู้ใช้ชอล์กบางท่านเล่าว่า กันได้ในตอนแรก แต่หลังๆมดเดินผ่านได้ ข้อเสียที่ร้ายแรงคือ การผสมยาฆ่าแมลงลงในชอล์ก ซึ่งถ้ามองเรื่องความปลอดภัยต่อคนและสัตว์แล้ว สินค้าประเภทนี้ต้องใช้ให้ถูกวิธีและใช้อย่างระมัดระวัง
4. เทปกันมด
ความง่ายต่อการใช้งาน
เทปกันมดมีลักษณะคล้ายเทปใสทั่วไปที่มีความเหนียว สามารถติดกับพื้นผิวหรือวัสดุอะไรก็ได้ การใช้งานจึงเหมือนการติดเทปปกติที่เราทุกคนเคยทำกัน
ความปลอดภัยต่อคนและสัตว์
เทปกันมดผลิตโดยการผสมยาฆ่าแมลงที่มีชื่อว่า “ไพรีทรอยด์” ลงในเนื้อเทป (ผู้ผลิตสินค้าลักษณะนี้มักจะใช้คำว่า “สารสกัดดอกเก๊กฮวยหรือสารสกัดดอกเบญจมาศ เพื่อให้ความเป็นยาฆ่าแมลงดูเบาลง) ก่อนหน้านี้ไพรีทรอยด์ถูกเชื่อว่า ปลอดภัยต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมถึงคน ซึ่งในข้อเท็จจริงจากข้อมูลปัจจุบันพบว่า ไพรีทรอยด์เป็นยาฆ่าแมลงที่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผลเสียจะมากน้อยขึ้นกับสายพันธุ์ของสัตว์และปริมาณที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย
โดยทั่วไปแล้ว สำหรับคนและสุนัข ไพรีทรอยด์อาจมีผลเสียต่อร่างกายน้อย เพราะร่างกายมีระบบการกำจัดพิษจากไพรีทรอยด์ได้ดีระดับหนึ่ง ในส่วนที่ต้องระมัดระวังให้มากๆคือ แมวและสัตว์น้ำ เพราะมีความไวต่อสารไพรีทรอยด์มาก หากได้รับสารแม้ปริมาณเพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้ถึงตายได้
ไม่ฆ่ามด
เนื่องด้วยเทปกันมดมีส่วนผสมของไพรีทรอยด์ แน่นอนว่าทำให้มดที่เดินผ่านหรือได้รับสารชนิดนี้ตายในระยะเวลาอันสั้นหรือเกือบจะทันที
ระยะเวลากันมด
ขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ไพรีทรอยด์จะสลายตัวได้ภายใต้แสงแดด ลองคิดว่าถ้าเราใช้เทปกันมดตีเส้นกันมดภายในบ้าน ประสิทธิภาพของการกันมดน่าจะอยู่ได้ยาวนานเป็นเดือนๆ หากบริเวณที่ใช้งานไม่โดนแดดเลย
ความคุ้มค่า
เทปกันมดเป็นสินค้าราคาไม่แพง ใช้กันมดในบ้านได้ค่อนข้างอเนกประสงค์ แต่มีส่วนผสมของยาฆ่าแมลง ในมุมมองของผู้เขียน สินค้าที่มียาฆ่าแมลงผสมอยู่ จำเป็นต้องมีการใช้งานอย่างระมัดระวัง และไม่เกี่ยวข้องหรืออยู่ใกล้กับอาหารและน้ำเพราะอาจเกิดการปนเปื้อนโดยที่เราไม่ตั้งใจก็เป็นได้ ดังนั้น ความคุ้มค่าในแง่ของการกันมดอาจจะมีคะแนนสูง แต่จะคุ้มกับความปลอดภัยต่อสุขภาพหรือไม่? ผู้เขียนคิดว่าไม่คุ้ม คะแนนในส่วนนี้จึงได้น้อยมาก

5. เจลกันมด
ความง่ายต่อการใช้งาน
เจลกันมดเป็นนวัตกรรมการกันมดแบบใหม่ ที่สามารถใช้ทากันมดได้ในเกือบทุกบริเวณ ไม่ว่าจะเป็นขาโต๊ะ กรอบประตู กรอบหน้าต่าง ผนัง รอยแตกบนกำแพง ใช้งานง่ายเพียงใช้มือป้ายเจลแล้วทาบริเวณที่ต้องการกันมดหรือบริเวณที่ต้องการไม่ให้มดผ่าน
ความปลอดภัยต่อคนและสัตว์
ไร้สารพิษ โลหะหนักและยาฆ่าแมลง จึงเป็นสินค้าที่ปลอดภัยต่อคนและสัตว์
ไม่ฆ่ามด
เจลกันมดขัดขวางทางเดินของมด โดยใช้หลักการทำให้มดไม่สบายตัวและเดินผ่านได้ลำบาก ไม่มีส่วนผสมของยาฆ่าแมลงเพื่อทำลายระบบประสาทของมด จึงไม่ฆ่าและทำลายชีวิตมด
ระยะเวลากันมด
เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้กันมดในท้องตลาด เจลกันมดถือว่าอยู่ได้ค่อนข้างยาวนาน โดยมีระยะเวลากันมดนาน 1-2 ปี หากทาในบริเวณที่ไม่ค่อยมีคนสัมผัสโดน
ความคุ้มค่า
ถือว่าคุ้มค่ามาก เพราะราคาพอๆกับผลิตภัณฑ์กันมดแบบมีพิษ ทั้งชอล์กและเทปกันมด แต่มีความปลอดภัยต่อคนและสัตว์พอๆกับเปลือกไข่บดและแป้งเด็ก การใช้งานก็ง่ายและใช้ได้ในหลายรูปแบบ อีกทั้งยังมีระยะกันมดที่ยาวนานกว่า ดังนั้น เจลกันมดจึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันมดภายในบ้าน

6. ที่รองขาโต๊ะกันมด ขากันมด (ANT-X Stand)
ความง่ายต่อการใช้งาน
ที่รองกันขาโต๊ะกันมดทุกชนิด ถูกออกแบบมาให้ใช้งานในลักษณะเดียวกันคือ เอาโต๊ะมาวางบนที่รอง ดังนั้น หากโต๊ะมีน้ำหนักน้อยการใช้งานก็จะง่าย เพราะยกขึ้นยกลงได้สะดวก แต่ถ้าโต๊ะมีน้ำหนักมาก การใช้งานก็ยากขึ้น เพราะยกแต่ละทีต้องใช้คนหลายคนและต้องระมัดระวังอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นระหว่างการยกโต๊ะ (ถ้าโต๊ะมีน้ำหนักมาก แนะนำให้ใช้เจลกันมดทาขาโต๊ะจะเหมาะกว่า)
ความปลอดภัยต่อคนและสัตว์
ที่รองกันมดหรือขากันมด มีส่วนประกอบทั้งหมด 3 ชิ้น ดังต่อไปนี้
1. ฝาซิลิโคนบน
เป็นวัสดุที่มีความนิ่มและยืดหยุ่น ประกอบเข้ากับแกนไม้ด้านบน ใช้เป็นพื้นที่ในการวางอาหารหรือสิ่งที่ต้องการกันมด ทำหน้าที่กันลื่น ป้องกันไม่ให้โต๊ะหลุดจากที่รองง่ายๆ ปกป้องพื้นที่ทาเจลกันมดจากฝุ่นและน้ำ ป้องกันการสัมผัสพื้นที่ทาเจลของคนและสัตว์โดยไม่ตั้งใจและป้องกันการบาดเจ็บที่เกิดจากการใช้ที่รองกันมดบนพื้น โดยผู้ใช้อาจเดินเตะที่รองกันมดโดยไม่ตั้งใจ
2. แกนไม้
ใช้เป็นชิ้นส่วนในการกันมด โดยมีการทาเจลกันมดบริเวณใต้ปีกและเสาของแกนไม้ ผลิตจากไม้ยางพาราธรรมชาติ เคลือบสารกันน้ำมาตราฐาน EN71 จำนวน 3 ชั้น
3. ฝาซิลิโคนล่าง
เป็นวัสดุที่มีความนิ่มและยืดหยุ่น ประกอบเข้ากับแกนไม้ด้านล่าง ทำหน้าที่กันลื่น ป้องกันไม่ให้โต๊ะเคลื่อนที่โดยไม่ตั้งใจ ปกป้องพื้นที่ทาเจลกันมดจากฝุ่นและน้ำ ป้องกันการสัมผัสพื้นที่ทาเจลของคนและสัตว์โดยไม่ตั้งใจและป้องกันการบาดเจ็บที่เกิดจากการใช้ที่รองกันมดบนพื้น โดยผู้ใช้อาจเดินเตะที่รองกันมดโดยไม่ตั้งใจ
หากมดต้องการเดินเข้าหาอาหารหรือสิ่งที่วางอยู่บนที่รองกันมดหรือขากันมด มดจำเป็นต้องเดินผ่านพื้นที่ทาเจลกันมดที่อยู่ใต้ปีกและเสาแกนไม้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักสำหรับมด
ดังนั้น ที่รองขาโต๊ะกันมดจึงมีความปลอดภัยต่อคนและสัตว์ ทั้งในแง่มุมของความมั่นคงของเฟอร์นิเจอร์หรือโต๊ะบนที่รองและความปลอดภัยของเจลไร้สารพิษและยาฆ่าแมลง
ไม่ฆ่ามด
ใช้เจลกันมดขัดขวางทางเดินของมด โดยใช้หลักการทำให้มดไม่สบายตัวและเดินผ่านได้ลำบาก ไม่มีส่วนผสมของยาฆ่าแมลงเพื่อทำลายระบบประสาทของมด จึงไม่ฆ่าและทำลายชีวิตมด
ระยะเวลากันมด
เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้กันมดในท้องตลาด ที่รองขาโต๊ะกันมดถือว่าอยู่ได้ค่อนข้างยาวนาน โดยมีระยะเวลากันมดนาน 1-2 ปี
ความคุ้มค่า
คุ้มค่ามาก เพราะนอกจากจะกันมดได้แล้ว ยังมีประโยชน์ในแง่มุมของความสวยงามเป็นเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้านได้ รวมถึงวัสดุที่ใช้ผลิตที่รองกันมด นอกจากเป็นวัสดุที่ปลอดภัยต่อคนและสัตว์แล้ว ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย