ส่วนตัวแล้วในชีวิตของผู้เขียน เคยได้ดูแลญาติที่เคยเจ็บป่วยและต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายเดือน ปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อยสำหรับผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่บนเตียงเกือบจะตลอดเวลาหรือ “ผู้ป่วยติดเตียง” คือ ปัญหามดขึ้นเตียงนอนและกัดผู้ป่วย สร้างความเจ็บปวดและความรำคาญให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
ในบางกรณีที่ผู้ป่วยติดเตียง ยังสามารถขยับตัวหรือขยับแขนขาได้บ้าง การป้องกันตัวเองด้วยการปัดป้องหรือบี้มด ยังสามารถทำได้ปกติ แต่ในกรณีของผู้ป่วยติดเตียงที่เคลือนไหวได้จำกัดหรือเคลือนไหวไม่ได้ เค้าจะไม่สามารถปกป้องตัวเองจากมดกัดได้เลย
เตียงนอนเป็นที่พักฟื้นของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะหายเร็วหรือช้า นอกจากการได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์แล้ว การนอนหลับพักผ่อนที่มีคุณภาพก็เป็นปัจจัยสำคัญ ในการฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วยเช่นกัน ดังนั้น หากเราพบปัญหามดกัดผู้ป่วยบนเตียง เราจำเป็นต้องรีบแก้ไขปัญหานี้ให้ได้โดยเร็วที่สุด
สาเหตุที่มดขึ้นเตียงและกัดผู้ป่วยติดเตียง?
ด้วยสัญชาตญาณของมด ที่เป็นเหมือนสัตว์อื่นทั่วไป มีความต้องการอาหาร น้ำและที่อยู่อาศัย สิ่งที่มดเข้าหามีความหมายหรือมีนัยสำคัญในการอยู่รอดเสมอ สาเหตุที่มดเข้าหาผู้ป่วยติดเตียงมีดังต่อไปนี้
1. มีเศษอาหารตกหล่นบนเตียง
ผู้ป่วยติดเตียงต้องทำกิจกรรมเกือบทุกอย่างบนเตียง รวมถึงการกินอาหารด้วย มีความเป็นไปได้สูงมากที่หลังจากรับประทานอาหารแล้ว อาจมีเศษอาหารตกหล่นอยู่บนเตียงหรือบริเวณข้างเตียง ซึ่งเป็นตัวล่อให้มดเข้าหาผู้ป่วยที่อยู่บนเตียงได้
2. เตียงนอนมีความอับชื้น
ร่างกายของคนเรามีเหงื่อ โดยเฉพาะในเวลาหน้าร้อนไม่ว่าคนป่วยหรือคนปกติก็มีเหงื่อออกมากกันทั้งนั้น หลายท่านคงเคยมีประสบการณ์นอนเหงื่อออกเพราะอากาศร้อนมาก พอมีเหงือไหลก็ทำให้เตียงอับชิ้น โชคไม่ดีที่มดเป็นสัตว์ที่ชอบบริเวณที่มีความอับชิ้นและมืด มดจะเข้าหาพื้นที่ลักษณะนี้เพื่อทำรังหรือหยุดพัก เพราะมีความรู้สึกปลอดภัย
3. มดมีความต้องการเกลือจากเหงื่อของมนุษย์
เป็นความจริงที่มดชอบกินของหวาน แต่…ในการดำรงชีวิตของสัตว์ทุกชนิด เกลือเป็นสารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายยิ่งกว่าน้ำตาล ข้อมูลจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (National Academy of Sciences) พบว่าสัตว์ที่มีเกลือในร่างกายไม่เพียงพอ จะถูกดึงดูดให้เข้าหาและกินอาหารที่มีเกลือมากกว่าอาหารที่มีน้ำตาล เกลือช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกายเป็นปกติในสัตว์ทุกชนิด และข้อสรุปที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้คือ มดที่อยู่ห่างจากมหาสมุทรหรือทะเลถึง 60 ไมล์ และไม่ได้กินอาหารที่มีส่วนประกอบของแมลงชนิดอื่น มีแนวโน้มที่จะต้องการเกลือเข้าสู่ร่างกายเพื่อความอยู่รอด
4. มดมองผู้ป่วยติดเตียงเป็นอาหาร
ท่านผู้อ่านทุกท่านทราบอยู่แล้วว่า มดเป็นสัตว์ที่ชอบกินของหวาน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง แต่มีอาหารอีกชนิดหนึ่งที่มดชอบกินไม่แพ้ของหวาน คือ เนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ
ถ้าเราเคยสังเกตจะพบว่า เวลามีสัตว์ตาย มดมักยกขบวนมาเอาซากสัตว์ที่ตายไป เพื่อนำไปเป็นอาหาร ถึงตรงนี้แล้ว ถ้าเราตั้งคำถามว่า เพราะอะไรมดจึงกัดผู้ป่วยที่นอนติดเตียงหรือแม้กระทั่งเราเองที่เป็นคนปกติ? ท่านน่าจะมีคำตอบในใจอยู่ใช่หรือไม่?
ผู้ป่วยติดเตียงส่วนมากมักจะเคลื่อนไหวได้จำกัดหรือเคลื่อนไหวไม่ได้ เปิดโอกาสให้มดเข้าหาและทำร้ายได้ง่าย มดเข้าหาเพราะต้องการอาหาร กัดเพราะผู้ป่วยเพราะคิดว่าเป็นอาหาร ตามสัญชาตญาณของสัตว์ทั่วไป
3 วิธีแก้ปัญหาและป้องกันมดกัดผู้ป่วยติดเตียง
ท่านสามารถเลือกใช้วิธีดังต่อไปนี้ได้ ตามความสะดวก รูปแบบของเตียงและงบประมาณของท่าน

1. ถ้าเตียงมีขาให้ทาเจลกันมดบริเวณขาเตียง
วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย ปลอดภัยและประหยัดที่สุด หากเตียงของท่านมีขาไม่ว่าจะเป็นเตียงไม้ เตียงเหล็กหรือแม้แต่เตียงโรงพยาบาลที่มีล้อเลื่อน เพียงเราใช้เจลกันมดทาที่ขาเตียงเป็นแถบประมาณ 2-3 เซนติเมตร ก็จะกันมดได้ทันที!
ข้อดี
- ประหยัดค่าใช้จ่าย
- ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
- ไม่ต้องใช้น้ำและยาฆ่าแมลง
- กันมดได้ยาวนาน 1-2 ปี
- ดูแลรักษาง่าย รอบการทาเจลเพียงปีละ 1 ครั้ง
ข้อเสีย
- วิธีนี้ไม่เหมาะกับเตียงที่ไม่มีขา (มักเป็นเตียงทั่วไปที่ใช้อยู่ตามบ้าน)
- การทาเจลที่ขาเตียงโดยตรงอาจดูไม่เรียบร้อยและสวยงาม

2. ถ้าเตียงไม่มีขาให้ใช้ที่รองขาโต๊ะเตียงตู้กันมด
ให้ท่านใช้ที่รองกันมดวางตามจุดรับน้ำหนักของเตียงนอน วิธีนี้ป้องกันมดกัดผู้ป่วยได้ผลดีเหมือนกันวิธีที่ 1 แต่ต้องใช้อุปกรณ์ที่เป็นที่รองกันมดเพิ่มเติมเข้ามา
ข้อดี
- ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
- ไม่ต้องใช้น้ำและยาฆ่าแมลง
- กันมดได้ยาวนาน 1-2 ปี
- ดูแลรักษาง่าย รอบการทาเจลเพียงปีละ 1 ครั้ง
- ดูสวยงามเรียบร้อย
ข้อเสีย
- ต้องใช้งบประมาณในการซื้อที่รองกันมดเพิ่มเติม
3. หมั่นดูแลและทำความสะอาดที่นอนให้ผู้ป่วยติดเตียง
ความสะอาดถือเป็นเรื่องพื้นฐานในการป้องกันมด หากท่านได้อ่านบทความตั้งแต่แรกจนมาถึงตรงนี้ ท่านจะทราบว่าสาเหตุที่ทำให้มดขึ้นเตียงผู้ป่วย คือ
- มีเศษอาหารหล่นบนเตียงขณะผู้ป่วยรับประทานอาหารหรืออาจจะเป็นของญาติเฝ้าไข้
- มดมีความต้องการเกลือในการดำรงชีวิต ซึ่งเหงื่อของคนไข้เป็นอาหารที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบสำคัญ
- มดชอบที่อับชื้น ตามสัญชาตญาณของมด
วิธีเดียวที่จะแก้ปัญหาและป้องกันมดกัดผู้ป่วยติดเตียง จากสาเหตุทั้ง 3 ข้อได้คือ การดูแลรักษาความสะอาดเตียงคนไข้ โดยการหมั่นซักปลอกหมอน ผ้าปู ผ้าห่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไข้ที่เป็นคนขี้ร้อนมีเหงื่อมาก และอาจจะต้องตรวจสอบที่นอนของผู้ป่วยบ่อยๆในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน เพราะเป็นฤดูที่มีมดมาก
สรุป
การแก้ปัญหาและป้องกันมดกัดผู้ป่วยติดเตียงเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก หากท่านมีความเข้าใจในสาเหตุของปัญหาและเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสม สมัยนี้การป้องกันมดสะดวกขึ้นมาก และไม่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำ ใช้สารพิษหรือยาฆ่าแมลงอันตรายเหมือนแต่ก่อน เพราะมีนวัตกรรมเจลกันมดปลอดภัย ที่สามารถใช้กันมดได้แบบเห็นผลทันที โดยที่มีความปลอดภัยต่อคนและสัตว์ 100%