fbpx

วิธีไล่มดและป้องกันมดขึ้นข้าวสารฉบับสมบูรณ์ ใช้งานได้จริง อ้างอิงวิทยาศาสตร์

ประเทศไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ทุกบ้านจึงมีข้าวสารเก็บไว้เพื่อบริโภคไม่มากก็น้อย นอกจากปัญหามอดขึ้นข้าวสารที่พบเห็นได้ทั่วไปแล้ว ยังมีปัญหามดขึ้นข้าวสารเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบเห็นได้อยู่เป็นประจำ

สาเหตุที่แท้จริงของมดขึ้นข้าวสาร?

ตามสัญชาตญาณและการเอาชีวิตรอดของสัตว์ทั่วไป เหตุผลของการเข้าหาบางสิ่งย่อมเกี่ยวข้องกับ อาหาร น้ำและที่อยู่อาศัย มดเองก็เช่นกัน โดยปกติแล้วข้าวสารไม่ใช่อาหารที่มดชอบนัก สาเหตุหลักที่ทำให้มดขึ้นข้าวสารจะเกียวกับเรื่องน้ำและความชื้นมากที่สุด เพราะธรรมชาติของมดชอบที่ชิ้นๆ มืดๆและเป็นโพรง ซึ่งเป็นทำเลที่เหมาะสมสำหรับการทำรังและอยู่อาศัยของมด

ไล่มดออกจากข้าวสาร ทำยังไง?

มีหลากหลายวิธีที่จะไล่มดออกจากข้าวสารได้ วิธีการไหนจะได้ผลมากน้อย ผู้เขียนขอให้ท่านผู้อ่านทดลองแต่ละวิธีด้วยตนเอง จะได้คำตอบที่ชัดเจนที่สุด เพราะแต่ละสายพันธุ์มีวิธีการตอบสนองต่อวิธีไล่มดแต่ละแบบที่แตกต่างกัน

1. ใช้เทคนิคล่อเสือออกจากถ้ำ ล่อมดออกจากข้าวสาร

เนื่องด้วยเหตุผลของความชื้นที่เป็นสาเหตุทำให้มดขึ้นข้าวสาร หากเราสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมกับมดมากกว่าข้าวสาร มดจะเดินหรือย้ายออกจากข้าวสารมาสู่สภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นเอง ภายใน 2-3 ชั่วโมง

วิธีการที่ผู้เชียวชาญด้านมด ศาสตราจารย์ เอดูอาโด้ จีพีฟ็อกซ์ แห่งมหาวิทยาลัยเซาเปาโล ประเทศบราซิล – Eduardo G.P. Fox, PhD Zoology & Entomdogy, Sao Paulo University (2010) ได้ให้คำตอบเกียวกับการล่อมดออกจากข้าวสารไวัดังนี้

ผมเข้าใจว่าคุณมีกล่องหรือโถพลาสติกสำหรับใช้ใส่ข้าวสาร และคุณแน่ใจแล้วว่าแมลงที่อยู่ในข้าวสารนั้นเป็นมดจริงๆ ไม่ใช่แมลงชนิดอื่น

การแก้ปัญหาง่ายมากๆ เพียงแค่เราวางภาชนะอีกอันที่มีขนาดเล็กกว่าใกล้ๆกับภาชนะใส่ข้าวสาร โดยใช้กระดาษชุบน้ำวางไว้ในนั้น คุณต้องแน่ใจก่อนว่า ภาชนะต้องมีสีทึบหรือมืดกว่าสีของภาชนะใส่ข้าวสาร หรือถ้าจะล่อมดได้ดีขึ้น ภาชนะใส่ข้าวสารควรวางไว้ในที่สว่างๆและภาชนะที่ล่ดมดควรวางไว้ในที่มืด

คำอธิบายที่ช่วยสนับสนุนวิธีการล่อมดออกจากข้าวสารคือ มดเป็นสัตว์ที่ต้องการน้ำและความชิ้น บวกกับชอบอยู่ในที่มืดๆ ข้าวสารเป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติ ไฮโกรสโคปิค (Hygroscopic) ซึ่งหมายถึง มีความสามารถในการดูดน้ำหรือความชื้นได้ดี อย่างไรก็ตาม มดไม่ได้ชอบกินข้าวสาร มดจึงมีแนวโน้มที่จะย้ายหนีหากพอเจอกับสภาพแวดล้อมที่มีน้ำและความชื้นที่เหมาะสมกว่า

ก่อนที่จะย้ายออกจากข้าวสาร มดจะมีหน่วยสอดแนม ออกลาดตระเวนบริเวณรอบๆกล่องข้าวสาร หากมดสอดแนมพบกับภาชนะล่อมด ที่มีความชื้นเหมาะสมกว่า มดจะย้ายจากข้าวสารไปภาชนะล่อมดภายใน 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น

2. กระจายข้าวสารในถาดหรือกระด้ง แล้วนำไปตากแดด

วิธีนี้การันตีผลลัพธ์การไล่มดได้ เพราะเป็นการทำลายสภาพแวดล้อมที่มดชอบ เช่น

  • มดชอบที่มืด เราเอาข้าวสารไปตากแดด อยู่ในที่สว่างจ้า
  • มดชอบที่ชิ้น เราเอาข้าวสารไปตากแดด ไล่ความชิ้น

อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ค่อนข้างใช้เวลาและอาจจะต้องนำข้าวไปตากแดดหลายถาดหรือหลายรอบ หากเรามีข้าวสารอยู่ในปริมาณมาก

3. การใส่พริกแห้งและใบมะกรูดลงในข้าวสาร

วิธีนี้จัดเป็นวิธีการสุดคลาสสิคที่นิยมใช้กันมาแต่โบราณ โดยหลักการของพริกแห้งและใบมะกรูดสำหรับไล่มดคือ กลิ่นฉุน มดเป็นสัตว์ที่มีประสาทสัมผัสด้านกลิ่นที่ดีมาก มดจึงไม่ชอบกลิ่นฉุนของเครื่องเทศ เพราะกลิ่นฉุนทำให้การสื่อสารในกลุ่มมดด้วยกันมีปัญหา เพราะมดสื่อสารกันด้วยกลิ่นของฟีโรโมน หากกลิ่นเครื่องเทศที่ใช้มีกลิ่นฉุนรุนแรงมาก ก็อาจทำให้มดถึงตายได้

โดยข้อเท็จจริงแล้ว การใช้สมุนไพรไล่มด ไม่ได้จำกัดอยู่ แต่พริกแห้งหรือใบมะกรูดเท่านั้น เราสามารถใช้สมุนไพรที่มีกลิ่นแรงชนิดอื่นไล่มดออกจากข้าวสารได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น อบเชย ใบสะระแหน่ ขมิ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสมุนไพรไทยที่หาได้ง่ายทั้งสิ้น

การใช้พริกแห้งและใบมะกรูดในการไล่มด จำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยๆ เพราะเมื่อหมดกลิ่นฉุนแล้ว ประสิทธิภาพในการไล่มดก็จะหมดตามไปด้วย

วิธีป้องกันมดขึ้นข้าวสารแบบถาวร

หลังจากที่เราไล่มดหรือล่อมดออกจากข้าวสารได้แล้ว ถึงเวลาที่เราต้องเรียนรู้วิธีการป้องกันมดขึ้นข้าวสาร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ ท่านสามารถเลือกใช้วิธีป้องกันมดขึ้นข้าวสารดังต่อไปนี้ได้ ปริมาณข้าวที่มี งบประมาณ ความเหมาะสมและความสะดวก

1. ใช้กล่องใส่ข้าวสารกันมด

ท่านผู่อ่านหลายท่านอาจคุ้นชินกับกล่องพลาสติกที่มีรูปร่างเป็นทรงเหลี่ยมและทรงกระบอก ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีฝาปิดพร้อมล็อค ที่มีวางจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด โดยมากแล้วทุกบ้านจะมีกล่องลักษณะนี้ไว้ใส่อาหาร ผักผลไม้ หากกล่องที่กำลังพูดถึงนี้มีฝาปิดสนิท ก็สามารถใช้ใส่ข้าวสารเพื่อกันมดได้

สมัยนี้มีกล่องขนาดใหญ่สำหรับใสข้าวสารโดยเฉพาะ กล่องใส่ข้าวสารส่วนมากจะมีขนาดใหญ่และใส่ข้าวสารได้ 5-10 กิโลกรัม น่าเสียดายที่กล่องใส่ข้าวสารที่เราเห็นอยู่ทั่วไป มักจะกันมดไม่ได้หรือกันมดได้ไม่ดีนัก เพราะไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อกันมดแต่แรก และไม่ได้เป็นกล่องสุญญากาศ คำว่ากล่องสุญญากาศคือ กล่องที่เราใส่อาหารลงไป ปิดฝาเรียบร้อยดีแล้ว อากาศจะไหลเข้าออกกล่องได้น้อยมากหรือไม่ได้เลย

กล่องใส่ข้าวสารที่ดีทีสุด คือจะมีลักษณะของความเป็นสุญญากาศอยู่ด้วย เพราะการเป็นสุญญากาศช่วยการันตี การปิดสนิทและการป้องกันอากาศเข้าออกกล่อง สภาพสุญญากาศในกล่องจะช่วยป้องกันมดได้ 100% มดที่อยากเข้ากล่องก็เข้าไม่ได้ ส่วนมดที่อยู่ในกล่องก็อยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีอากาศหายใจ

กล่องสุญญากาศสำหรับกันมดที่ดี นอกจากจะมีฝาที่ปิดสนิทแล้ว ควรมีระบบดูดเอาอากาศภายในกล่องออกมาด้วย เพื่อสร้างสภาพสุญญากาศภายในกล่องอย่างแท้จริง เพราะทุกครั้งที่เราเปิดฝากล่องแล้วปิดกล่อง จะมีอากาศจำนวนหนึ่งเหลืออยู่ในกล่อง ถ้าเรามองในแง่ของการกันมดอาจไม่ได้มีผลอะไรมากนัก แต่ถ้าหากเรามองในแง่ของประโยชน์เพิ่มเติม เช่น การป้องกันมอดหรือการถนอมอาหาร สภาพสุญญากาศในกล่องอาหาร จะมีความสำคัญมาก เพราะถนอมอาหารให้ข้าวสารมีความสดใหม่และช่วยป้องกันมอดกินข้าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. แช่ข้าวสารในตู้เย็น

การนำข้าวสารใส่กล่อง แล้วแช่ในตู้เย็นเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดี เพราะโดยปกติแล้วมดจะไม่สามารถเข้าไปกินอาหารในตู้เย็นได้ เพราะตู้เย็นมีลักษณะปิดสนิทซึ่งเป็นข้อดีในการป้องกันการเข้าถึงของมด

นอกจากการแช่ข้าวสารในตู้เย็นจะช่วยป้องกันมดได้แล้ว ยังช่วยป้องกันมอดและหยุดการเจริญเติบโตของมอดได้ด้วย อย่างไรก็ตาม วิธีการแช่ข้าวสารในตู้เย็นถึงแม้จะได้ผลดี แต่ถ้าหากเรามีข้าวสารในปริมาณมาก พื้นที่สำหรับการแช่นข้าวสารอาจไม่เพียงพอ วิธีนี้จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีข้าวสารเก็บไว้บริโภคในปริมาณมาก

3. การใช้แผ่นรองกันมดหรือถาดรองกันมด

วิธีนี้ใช้ป้องกันมดได้ผลดี และเหมาะสำหรับผู้ที่มีกล่องใส่ข้าวสารอยู่แล้ว เพียงเราวางกล่องใส่ข้าวสารบนแผ่นกันมด ก็จะกันมดได้ทันที

4. การใช้เจลกันมดปลอดภัย

ถ้าเรามีข้าวสารเก็บไว้กินในปริมาณเป็นกระสอบหรือหลายกระสอบ วิธีก่อนหน้าที่กล่าวมาทั้งหมดจะไม่สามารถใช้แก้ปัญหามดขึ้นข้าวสารได้อย่างเหมาะสม สิ่งที่ท่านอาจจะมีอยู่แล้วหรืออาจจะซื้อเพิ่มเติมคือ ชั้นวาง จะเป็นชั้นวางแบบไหนก็ได้ ขอให้มีขา 4 ขาชัดเจน โดยเราจะใช้เจลกันมดปลอดภัยทาที่ขาทั้ง 4 ของชั้นวาง เสร็จแล้ววางกล่องใส่ข้าวสารหรือกระสอบข้าวสารบนชั้น การป้องกันมดจะเห็นผลทันที และไม่มีมารบกวน 100%

เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ขวดน้ำพลาสติกใส่ข้าวสาร

แน่นอนว่าทุกท่านคงเคยซื้อน้ำดื่มเป็นขวดจากร้านสะดวกซื้อ และผู้เขียนเชื่อว่า ท่านผู้อ่านหลายท่านคงเคยเห็นขวดน้ำขนาดใหญ่ 6 ลิตร มีหูหิ้ว ซึ่งขวดน้ำขนาดใหญ่ที่พูดถึงเป็นขวดที่มีขนาดพอเหมาะกับการบรรจุข้าวสาร เพราะมีฝาปิดสนิทและป้องกันมดขึ้นได้ และดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีการเก็บข้าวสารที่ดีและประหยัดเงินมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ขวดน้ำที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ มีข้อจำกัดในการใช้งานที่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบ ซึ่งข้อจำกัดในการใช้งานต่อไปนี้ มีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยต่อสุขภาพของท่านและครอบครัว

  • ขวดน้ำพลาสติกเกือบ 100% ผลิตจากพลาสติกที่มีชื่อว่า PET หรือจะเรียกง่ายว่า ขวด PET ก็ได้ ซึ่งเป็นขวดที่ออกแบบมาสำหรับใช้แล้วทิ้งหรือใช้ครั้งเดียว
  • ขวด PET หากถูกนำมาใช้ซ้ำภายในระยะ 1 สัปดาห์ อาจก่อเชื้อแบคทีเรียได้จำนวนมากพอๆกับจำนวนเชื้อแบคทีเรียบนฝาชักโครก
  • ขวด PET ถูกออกแบบมาให้ใช้บรรจุน้ำ ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้บรรจุอาหาร ความแข็งแรงจึงมีน้อย หากนำมาบรรจุข้าวสารอาจเกิดการเสียดสี ส่งผลให้ขวดเป็นรอยขีดข่วน บุบหรือมีรอยแตก อาจมีพลาสติกชิ้นเล็กๆที่ตาเรามองไม่เห็น หลุดออกมาปนเปื้อนกับข้าวสาร ผู้บริโภคข้าวสารก็จะกินพลาสติกชิ้นเล็กๆเข้าสู่ร่างกายเป็นประจำทุกวัน มีความเสี่ยงจะเกิดปัญหาสุขภาพและความเจ็บป่วยที่มีความเกียวข้องกับโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็งและโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์

ดังนั้น ถ้าเรามองกันตามจริงจะพบว่า ขวดน้ำหรือขวด PET ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีสำหรับการบรรจุหรือเก็บรักษาข้าวสาร เพราะผลเสียด้านสุขภาพมีมากและไม่คุ้มค่าที่เราจะเอาชีวิตของตนเองและครอบครัวเข้าไปเสี่ยง

สรุป

วิธีไล่มดออกจากข้าวสารและป้องกันมดขึ้นข้าวสารให้ได้ผลดี มีอยู่หลายวิธี ท่านผู้อ่านสามารถนำข้อมูลในบทความนี้ไปปรับใช้ได้ตามสะดวก สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะเน้นย้ำคือ การหลีกเลี่ยงการใช้ขวดน้ำในการเก็บข้าวสาร เพราะเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงและอาจเกิดผลเสียด้านสุขภาพ วิธีไล่มดและป้องกันมดที่ปลอดภัย ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพยังมีให้เลือกอีกหลายวิธี ให้ท่านได้เลือกใช้

กันมดแบบไร้น้ำไร้สารพิษ ปลอดภัย เห็นผลทันที!

ที่รองกันมด ถ้วยรองกันมด ขากันมด (ANT-X Stand)

ที่รองกันมด ถ้วยรองกันมด ขากันมด (ANT-X Stand)

ที่รองกันมด (ANT-X Stand) นวัตกรรมใหม่ล่าสุดกันน้ำได้ ถ้วยรองกันมด ขากันมด รองขาโต๊ะ ขาตู้ เตียง ชั้นวางของ รองกันมดขึ้นกรงสัตว์เลี้ยง ขวดโหล ไมโครเวฟ ไร้สารพิษและยาฆ่าแมลง ปลอดภัยต่อคนและสัตว์ 100% แข็งแรงรับน้ำหนักได้ถึง 1,000 กิโลกรัม วางได้เสถียร มั่นคง...

read more
แผ่นรองกันมดไม้แบบวงกลม (ANT X Circle)

แผ่นรองกันมดไม้แบบวงกลม (ANT X Circle)

แผ่นรองกันมดไม้แบบวงกลม (ANT X Circle) ใช้รองอาหารกันมด กันมดขึ้นอาหารแมว ไร้สารพิษ สารไพรีทรอยด์ สารสกัดดอกเบญจมาศและดอกเก๊กฮวย ไม่มียาฆ่าแมลง ปลอดภัยต่อคนและสัตว์ 100% อายุการใช้งาน 1-2 ปี ไม่ต้องทิ้งแผ่น เติมเจลกันมดได้ แผ่นใหญ่พิเศษ 19 เซนติเมตร รับประกันสินค้า 2...

read more
ถาดกันมดไม้ (ANT X Tray)

ถาดกันมดไม้ (ANT X Tray)

ถาดกันมดไม้ (ANT X Tray) แผ่นรองกันมดขนาดใหญ่ โต๊ะแมวไม้ ใช้รองอาหารและน้ำกันมด กันมดขึ้นอาหารแมว ไร้สารพิษ สารไพรีทรอยด์ สารสกัดดอกเบญจมาศและดอกเก๊กฮวย ไม่มียาฆ่าแมลง ปลอดภัยต่อคนและสัตว์ 100% อายุการใช้งาน 1-2 ปี ใช้ซ้ำได้ เติมเจลกันมดได้ ถาดมีหลายขนาดหลายรูปร่าง...

read more
เจลกันมดปลอดภัย ANT X

เจลกันมดปลอดภัย ANT X

เจลกันมดปลอดภัย ANT X กันมดแบบง่ายๆ เห็นผลได้ทันที ไม่ฆ่ามด ใช้ทาขาโต๊ะ ขาตู้ ไล่มด กันมดขึ้น กันมดนาน 12-18 เดือน ไร้สารพิษและยาฆ่าแมลง ใช้ได้กับพื้นผิวหลายประเภทโดยไม่ทำให้พื้นผิวเสียหาย ไม่มีกลิ่นเหม็น เกรดอาหาร ปลอดภัยต่อคนและสัตว์ 100%...

read more